แต่ไม่ต้องห่วง ทุกปัญหาเเก้ไขได้

เนื่องด้วยเทคโนโลยีการสกรีนแบบ DTF (Direct to Film) ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน วงการสกรีนใช้ระบบนี้กันอย่างแพร่หลาย เพราะขั้นตอนการสกรีนแบบ DTF สามารถพิมพ์ลวดลายได้หลากหลาย สีสดคมชัด และเหมาะกับผ้าหลายประเภท (ไม่เหมือนการสกรีนระบบอื่นที่มักจะเหมาะกับผ้าคนละชนิด แต่สำหรับการสกรีน DTF นั้นสามารถสกรีนลงผ้าได้หลากหลายชนิด) แต่ถึงแม้จะมีข้อดีมากมาย ขั้นตอนระหว่างการสกรีนนั้นก็เรียกได้ว่าอาจพบปัญหาทุกขั้นตอนได้ เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียด และต้องดูแลรักษาเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์ต่างๆ เป็น แต่ถึงกระนั้นหากเข้าใจต้นเหตุและวิธีแก้ไขอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยให้ช่างสกรีนทุกคนทำการผลิตได้ลื่นไหลและได้ผลงานคุณภาพสูงอย่างมืออาชีพได้ เพียงแต่ทุกอย่างล้วนต้องผ่านการฝึกฝนและเข้าใจระบบของเครื่องพิมพ์รวมถึงเนื้องานต่างๆ ก่อน
1. พิมพ์แล้วหมึกไม่เกาะฟิล์ม หรือหมึกกระจาย
เชื่อว่าช่างสกรีนหลายคนมักจะเจอปัญหานี้เป็นระยะ หรืออย่างน้อยก็ต้องเจอคนละครั้งได้ ก่อนจะแก้ปัญหาได้ต้องหาสาเหตุก่อน สาเหตุอันดับต้นๆ เลยคือ หมึกพิมพ์ที่ใช้อาจจะไม่เหมาะกับตัวแผ่นฟิล์ม (ทางร้านมีจำหน่ายฟิล์ม หมึก ผงกาว ซึ่งได้ลองเทสแล้วว่าทั้งสามอย่างนี้สามารถทำให้งานพิมพ์ออกมาดีที่สุดเพราะสินค้าทั้งสามอย่างต่างส่งเสริมคุณภาพของกันและกัน)
หรือบางคนอาจเน้นใช้หมึกราคาถูกเกินไป ทำให้คุณภาพที่ได้ไม่ดีนัก บางครั้งหมึกก็เก็บไว้นานเกิน อาจทำให้หมึกหมดอายุได้ หรือช่างบางคนอาจตั้งค่าอุณหภูมิหัวพิมพ์ไม่เหมาะสมกับงานนั้นๆ แต่ละงานก็อาจมีปัจจัยการตั้งแตกต่างกัน ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการกรองงานเบื้องต้น
แน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้มีวิธีแก้ไขได้
เปลี่ยนมาใช้ฟิล์มที่มีการเคลือบอย่างดี รองรับหมึก DTF โดยเฉพาะ ลองดูฟิล์มที่ร้านก็ได้ ทางร้านนำเข้าสินค้าคุณภาพสูง เพื่อที่จะให้งานมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
ตรวจสอบวันหมดอายุและความเข้ากันได้ของหมึกกับเครื่องพิมพ์ อันนี้ต้องลองเทสกับฟิล์มผงกาวด้วย
ปรับอุณหภูมิหัวพิมพ์ให้อยู่ในช่วงที่หมึกสามารถแห้งพอดีโดยไม่กระจายตัว
2. พิมพ์แล้วสีซีด สีไม่ตรงกับไฟล์ต้นฉบับ
อันนี้หลายคนจะเจอเลย แต่ต้องบอกก่อนว่าค่าสีในคอมพิวเตอร์กับไฟล์งานจริงอาจจะแตกต่างกัน คอมแต่ละเครื่องก็โชว์ค่าสีไม่เหมือนกัน
หรือบางร้านอาจไม่มีการจัดการสี (Color Profile) หมึกหรือฟิล์มไม่ตรงกับเครื่อง ไม่ก็ซอฟต์แวร์ RIP ตั้งค่าผิด
วิธีแก้ไขนั้นสามารถทำได้ดังนี้
ติดตั้ง ICC Profile ที่เหมาะสมกับเครื่อง หมึก และฟิล์มที่ใช้
ใช้ RIP Software เช่น Acrorip, Kothari หรืออื่นๆ ให้เหมาะสม
ทดสอบพิมพ์แบบแผ่นเทียบสี (Color Chart) เพื่อตั้งค่าก่อนพิมพ์จริง
ลองเทสดูว่าปัญหาอยู่ที่ไหนแล้วทำตามแก้ไขไปทีละขั้น
3. ลายพิมพ์แตกลอกหลังซักไม่กี่ครั้ง
อันนี้สาเหตุส่วนใหญ่นอกจากจะมีกระบวนการผลิตที่อาจผิดวิธีแล้ว จะขึ้นกับผงกาวเป็นหลัก บางทีถ้าเลือกใช้ผงกาว (powder) คุณภาพต่ำก็จะเจอปัญหาลักษณะนี้เรื่อยๆ (ทางร้านมีจำหน่ายผงกาวคุณภาพสูงเหมาะกับงานพิมพ์ DTF) หรือบางครั้งช่างสกรีนอาจจะอบหลังโรยผงกาวไม่ทั่วถึงหรืออุณหภูมิไม่พอ หรือแม้กระทั่งทำทุกอย่างสมบูรณ์แบบแล้วแต่ไปพลาดตรงกระบวนการรีดบนผ้าไม่เหมาะสมก็เป็นได้
วิธีแก้ไข ก่อนอื่นควรเริ่มจากเปลี่ยนผงกาวก่อน เปลี่ยนมาใช้ผงกาว DTF คุณภาพสูง (ไม่เป็นผงแป้ง, ละลายได้ดี)
อบผงกาวให้ทั่วทั้งแผ่น โดยใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม
รีดด้วยเครื่อง Heat Press ที่มีแรงกดพอสมควร โดยต้องเลือกเวลาให้เหมาะสมด้วย

4. รีดแล้วลอกฟิล์มไม่หมด หรือดึงแล้วหมึกติดฟิล์ม
ช่างสกรีนคงเคยเจอปัญหาลอกฟิล์มยากเย็นเหลือเกิน ลอกได้แล้ว หมึกก็ดันติดออกมาด้วย ทำให้งานภาพไม่สมบูรณ์ พูดง่ายๆ คืองานเสียนั่นแหละ
สาเหตุหลักๆ ล้วนมาจากอุณหภูมิรีดต่ำเกินไป ทำให้งานที่ได้ไม่คงทน หรือลอกฟิล์มตอนร้อนไม่ก็ตอนเย็นเกินไป ควรลอกในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามคุณสมบัติของฟิล์ม เช่น เลือกใช้ฟิล์มที่ใช้เป็นแบบลอกร้อน (Hot Peel) แต่ดันลอกตอนเย็น หรือกลับกัน
วิธีแก้ไขอันดับแรกต้องเน้นฟิล์มก่อน ตรวจสอบชนิดของฟิล์ม (Hot Peel / Cold Peel) และปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต
ทดสอบลอกในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่น Hot Peel ให้ลอกทันทีหลังรีดเสร็จ ส่วน Cold Peel ให้รอจนเย็นสนิท ลอกบ่อยๆ จะรู้จังหวะและจับเวลาได้แม่นยำขึ้น
เพิ่มอุณหภูมิรีดหรือแรงกดให้แน่นขึ้นถ้าหมึกติดฟิล์ม
5. รีดงานแล้วเกิดปัญหามีจุดไม่ติดบางส่วน หรือขอบหลุด
คงเคยเป็นกัน พิมพ์ภาพออกมาแต่เวลารีดดันรีดได้ไม่ครบ ทำให้งานเสีย
สาเหตุหลักๆ นั้นเกิดจากแรงกดของเครื่อง Heat Press ไม่ทั่วถึง ควรตรวจสอบอุปกรณ์บ่อยๆ ก่อนรีดด้วย
ผิวผ้าไม่เรียบ (เช่น มีกระดุมหรือตะเข็บใกล้จุดรีด) ทำให้แรงกดไม่สม่ำเสมอ และสาเหตุหลักที่คนอาจจะละเลยไม่ได้สังเกตคือ ผงกาวไม่เกาะครบทั่วแผ่น เกาะแค่เป็นหย่อม
วิธีแก้ไข อันดับแรกแก้ที่เครื่องก่อน ลองปรับเครื่อง Heat Press ให้มีแรงกดสม่ำเสมอทั่วแผ่น
โรยผงกาวให้ทั่วแผ่น และเคาะหรือสั่นให้ผงกระจายก่อนอบจะช่วยให้ผงเคลือบทั้งแผ่นฟิล์ม
6. หัวพิมพ์ตัน พิมพ์เส้นขาด
อันนี้เรียกได้ว่าเป็นปัญหาหลักของช่างสกรีนเลย มักจะเจอคำถามนี้บ่อยครั้ง
สาเหตุเกิดจาก ไม่พิมพ์ทุกวัน หรือปล่อยให้เครื่องไม่ได้ใช้นาน บางรายอาจเจอหมึกตกตะกอนในระบบ หรืออาจเป็นที่ตัวเครื่องมีปัญหาเอง เช่น ระบบทำความสะอาดหัวพิมพ์ไม่ทำงาน
วิธีแก้ไขเบื้องต้นเพื่อช่วยแก้ปัญหา
เปิดเครื่องทุกวันและพิมพ์ไฟล์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวันเพื่อให้หัวพิมพ์ได้ทำงานทุกวัน อย่าลืมใช้น้ำยาล้างหัวพิมพ์ตามรอบ หรือใช้ระบบล้างอัตโนมัติ
จะเห็นได้ว่าถึงแม้การสกรีน DTF เป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานได้หลากหลายและให้คุณภาพงานที่ดีเยี่ยม ทำงานละเอียดได้ดี แต่ต้องอาศัยการดูแลเครื่องอย่างต่อเนื่อง ดูแลทั้งหัวพิมพ์ ตัวเครื่องพิมพ์ หรือแม้กระทั่งเครื่องรีด และควรเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ อย่าเน้นแต่ของราคาถูกเพราะอาจทำให้มีปัญหาในการทำงานได้ และควรเข้าใจขั้นตอนแต่ละจุดอย่างละเอียด หากสามารถจัดการปัญหายอดฮิตเหล่านี้ได้อย่างมืออาชีพ งานก็จะราบรื่น สวยงาม และสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ทุกชิ้นแน่นอน รวมถึงประสิทธิภาพของงานก็จะละเอียดและงานมีคุณภาพมากขึ้น